วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โทษจากยาเสพติด
แนวคิด
                1. ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แบ่งยาเสพติดให้โทษ ออกเป็น 5 ประเภท ยาเสพติดให้โทษกฎหมายถือว่าเป็นทรัพย์อันผิดกฎหมายผู้ใดมีไว้ไม่ได้ หากฝ่าฝืนมีความผิดต้องได้รับโทษ
                2. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษฐานที่มีความผิดสูงสุด คือ ฐานผลิต นำเข้าหรือส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 คือ เฮโรอีนเพื่อจำหน่าย

                ในภาวะสังคมปัจจุบันนี้ สิ่งที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสภาพสังคมอย่างหนึ่งคือ ยาเสพติด บรรดายาเสพติดทั้งหลายล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนทั้งสิ้น หากประเทศใดมีพลเมืองที่ติดยาเสพติดเป็นจำนวนมาก ก็จะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพราะผู้ที่ติดยาเสพติดจะเป็นบุคคลที่เสื่อมทั้งสติปัญญา และความสามารถที่จะกระทำกิจการงานใดๆ นอกจากไม่สามารถประกอบอาชีพของตนให้ก้าวหน้าแล้ว ยังเป็นภาระและเป็นปัญหาของสังคมตลอดจนประเทศชาติด้วย
                ขณะนี้นักเรียนเป็นเยาวชนของชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของชาติในด้านต่างๆ ในอนาคต กำลังอยู่ในวัยที่อยากทดลองสิ่งแปลกใหม่ๆ เมื่อมีผู้ชักชวนให้เสพยาติดก็อาจจะทดลองโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และอาจติดยาเสพติดไปโดยไม่รู้ตัว จึงควรที่จะได้รู้ถึงอันตรายอันเกิดจากยาเสพติดไว้บ้าง

1. อันตรายของยาเสพติดให้โทษ
               
1.1 ทำลายสุขภาพ ยาเสพติดส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายเสื่อมลงทำให้สุขภาพทรุดโทรม ร่างกายซูบผอม น้ำหนักลดอ่อนเพลียไม่มีแรงในการทำงาน เกียจคร้าน เฉื่อยชา ถ้าเป็นนักเรียน ก็ไม่อยากเรียนหนังสือ เบื่อหน่ายในการเรียน มีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งทำให้ผู้อื่นเกิดความไม่เชื่อถือหรือไม่ไว้วางใจในการที่จะทำงานร่วมด้วย
                1.2 ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะการควบคุมทางกล้ามเนื้อและระบบประสาทบกพร่อง ทำให้สมองมึนชา มึนงง ขาดความว่องไวในการตัดสินใจแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ถ้าผู้ติดยาเสพติดขับขี่พาหนะ นอกจากจะทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเองแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อผู้อื่นด้วย               
                1.3 เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย เพราะมีความต้านทานโรคน้อย ติดเชื้อได้ง่าย และในปัจจุบันมีโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วนั้น ผู้ที่ติดยาเสพติดก็เป็นบุคคลจำพวกหนึ่งที่ทำให้โรคนี้แพร่ไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน
                1.4 จิตใจไม่ปกติ ผู้ที่ติดยาเสพติดมักมีอาการอยากยา อารมณ์ไม่ปกติ บางครั้งเชื่องซึมบางครั้งคลุ้มครั่ง กระวนกระวาย เป็นหาทางนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรมได้ง่าย เนื่องจากต้องการเงินมาใช้ในการซื้อยามาเสพ
                นอกจากยาเสพติดที่เป็นอันตรายแล้ว ยังมีสิ่งเสพติดที่แพร่กระจายไปยังชุมชนอย่างมากในปัจจุบันนี้ คือ น้ำมันระเหยหอม ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในด้านการอุตสาหกรรม แต่ถ้าสารระเหยหมอเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดม โดยจงใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์มีปริมาณมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ สารเหล่านี้ ได้แก่ น้ำมันเบนซิน ทินเนอร์ผสมสี น้ำมันแลคเกอร์ น้ำมันก๊าด กาวชนิดต่างๆ ยาทาเล็บ น้ำยาซักแห้ง น้ำมันขัดเงา ฯลฯ ซึ่งสารเหล่านี้หากเสพติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดพิษต่อร่างกายเป็นพิษเฉียบพลัน มีอาการเมาคล้ายคนเมาสุรา วิงเวียน ภาพหลอน ประสาทหลอน ถ้าสูดดมเกิดขนาดอาจหมดสติถึงตายได้ เนื่องจากฤทธิ์ของน้ำระเหยหมอจะไปกดที่ศูนย์ควบคุมการหายใจในสมองทำให้หยุดหายใจ
                เมื่อนักเรียนรู้ว่า ยาเสพติดและสิ่งเสพติดประเภทน้ำมันระเหยหอมเป็นอันตรายต่อร่างกายแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงที่จะทดลองและรู้จักปฏิเสธ เมื่อถูกผู้อื่นชักชวนไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เพราะนอกจากจะเป็นการทำลายอนาคตของตนเองแล้วยังมีผลเสียต่อครอบครัว สังคม ประเทศชาติ  ดังนั้นกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เพื่อให้การปราบปรามและควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดให้โทษซึ่งประเทศเป็นภาคีสมาชิกอยู่

2. ความหมายของยาเสพติดให้โทษ
               
ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรม และให้รวมถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษผสมอยู่

3. ลักษณะของยาเสพติดให้โทษ
               
ยาเสพติดให้โทษมีหลายชนิด แต่ที่แพร่หลายในประเทศเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ ร่างกาย ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน กัญชา กระท่อม ฯลฯ

                3.1 ฝิ่น เป็นยาเสพติดที่แพร่หลายก่อนที่ยาเสพติดชนิดอื่นๆ ฝิ่นสกัดได้จากยางของเปลือกผลฝิ่นดิบ ซึ่งมีลักษณะเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ เมื่อเคี่ยวสุกจะมีสีดำรสขมมีกลิ่นพิเศษเฉพาะตัว
                3.2 มอร์ฟีน เป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่าฝิ่นประมาณ 10 เท่า สกัดได้จากฝิ่นมักทำเป็นผงสีขาวหรือเท่า ไม่มีกลิ่น รสขม ละลายน้ำได้ง่าย
                3.3 เฮโรอีน เป็นยาเสพติดให้โทษร้ายแรงที่สุด และเป็นพิษเป็นภัยแพร่หลายระบาดมากที่สุดในปัจจุบัน มีฤทธิ์และโทษรุนแรงกว่าฝิ่นประมาณ 100 เท่า รุนแรงกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่าเฮโรอีนที่จำหน่ายในประเทศไทย มี 2 ชนิด
                        1) เฮโรอีนบริสุทธิ์ หรือเฮโรอีนเบอร์ 4 หรือผงขาว มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาวไม่มีกลิ่น รสขมจัด
                        2) เฮโรอีนผสม หรือเฮโรอีเบอร์ 3 หรือไประเหย โดยจะผสมสารอื่นปนไปด้วย มีลักษณะเป็นเกล็ด มีสีต่างๆ เช่น ม่วง แดง ส้ม เทา น้ำตาล เป็นต้น
                3.4 กัญชา เป็นพืชล้มลุก มีสารที่ทำให้เสพติด คือ ยางเรซินของดอกกัญชา และยางที่ออกจากใบของต้นกัญชาตัวเมีย กัญชามีฤทธิ์กระตุ้นทำให้ประสาทหลอนเห็นภาพผิดไปจากความเป็นจริง ความนึกคิดสับสน ประสาทมึนงง ถ้าเสพนานเข้าอาจกลายเป็นโรคจิตได้
                3.5 กระท่อม สารที่ทำให้เสพติดมีอยู่ในใบของกระท่อม มีฤทธิ์ทำให้ประสาทหลอน ประสาทมึนชา   ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วเป็นเพียงส่วนหนึ่งของยาเสพติดให้โทษ ซึ่งนำมาเป็นเพียงตัวอย่างให้นักเรียนได้รับความรู้แต่เพียงย่อๆ

4. ประเทของยาเสพติดให้โทษ
               
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.
2522 แบ่งยาเสพติดให้โทษเป็น 5 ประเภท คือ
                1. ประเภทที่ 1 เป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน
                2. ประเภทที่ 2 เป็นยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน ฝิ่นยา โคคาอีน โคเคอีน
                3. ประเภทที่ 3 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาเสพติด ประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ยาเม็ดตกเบ็ด ซึ่งมีทิงเจอร์ฝิ่นการะบูนชนิดเข้มข้นเป็น   ส่วนผสม ยาแก้ไอน้ำเชื่อมมีทิงเจอร์ฝิ่นการะบูนเป็นส่วนผสม ฯลฯ
                4. ประเภทที่ 4 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่ได้เข้าอยู่ในประเภท 1 – 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม

5. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
               
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแบ่งออกอย่างกว้างๆ ได้เป็น
5 ฐาน
                1. ฐานผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                2. ฐานจำหน่าย หรือมีไว้ในความคอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                3. ฐานมีไว้ในความคอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                4. ฐานเสพยาเสพติดให้โทษ
                5. ฐานโฆษณาเพื่อการค้าซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอยู่เสมอ และมีบางคนถูกชักจูงให้ร่วมกระทำความผิดโดยความไม่รู้ และเมื่อถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับได้จะถูกดำเนินคดี ในที่สุดก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย จึงขอยกตัวอย่างความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่พบเสมอและน่าสนใจดังนี้
                กรณีตัวอย่างความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                1. ผู้ที่ผลิต นำเข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 เช่น เฮโรอีน โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ต้องถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
                2. ถ้าผู้ใดบังอาจผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทเฮโรอีน เพื่อจำหน่ายแล้ว กฎหมายได้กำหนดโทษไว้สถานหนักถึงประหารชีวิต
                3. ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ถ้ายาเสพติดให้โทษนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
                กรณีตัวอย่างความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในความครอบครอง
                1. ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น เฮโรอีนไว้ในความครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท
                2. ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ไว้ในคอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-20 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท  ถ้ามอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน นั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่า 100 กรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่  50,000-500,000 บาท
                3. ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 (กัญชา)ไว้ในความครอบครองต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท  ถ้ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท
               
กรณีตัวอย่างความผิดฐานเสพติดให้โทษ                1. ผู้ที่เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เฮโรอีน) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน-10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท
                2. ผู้ที่เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 5 (กัญชา) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
                กรณีตัวอย่างความผิดในฐานต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ยกขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนรู้ว่า ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนั้น จะได้รับโทษสูงเพียงใดขึ้นอยู่กับฐานความผิดและประเภทของยาเสพติด เช่น โทษฐานจำหน่ายย่อมสูงกว่าโทษเสพหรือมียาเสพติดไว้ในครอบครอง ประเภทเฮโรอีน ก็ย่อมได้รับโทษสูงกว่ามีกัญชาไว้ในครอบครอง เป็นต้น

สรุปสาระสำคัญ
               
1. ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรม และให้รวมถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย
                2. ยาเสพติดให้โทษมีหลายชนิด แต่ที่แพร่หลายในประเทศเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ ร่างกาย ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน และเฮโรอีน
                3. ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงที่สุดคือ เฮโรอีน
                4. ผู้ที่ผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทเฮโรอีน เพื่อจำหน่าย กฎหมายได้กำหนดโทษไว้สถานหนัก คือ ประหารชีวิต

ผลกระทบของปัญหายาเสพติด
ยาเสพติดเป็นปัญหาที่  เป็นภัยคุกคาม กัดกร่อน บ่อนทำลาย”  ประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งต่อปัจเจกบุคคล   และสังคมส่วนรวมในมิติต่างๆ    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง    (แผนแม่บทเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9. 2545 : 12 – 14)
  ผลกระทบต่อตัวบุคคล
           ๑. ยาเสพติดทุกชนิด จะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพและสุขภาพอนมัย  กรณีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดจะมีโอกาสติดและแพร่เชื้อเอดส์ถึงร้อยละ ๕๐  นอกจากนี้ตัวยาบางตัว  เช่น  แอมเฟตามีน    หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจะส่งผลกระทบ ต่อระบบจิตและประสาทส่วนกลาง และทำลายสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนทำให้ผู้เสพมีความสับสน กังวลใจและนอนไม่หลับ รวมถึงพฤติกรรมความรุ่นแรงต่างๆ
         ๒. ผู้ติดยาจะไม่ได้รับการยอมรับ      และถูกจำกัดสิทธิทางกฎหมายในการสมัครเป็นผู้แทนหรือสมาชิกทาง   การเมือง รวมทั้งการเข้ารับราชการ
        ๓. ผู้ใช้สารเสพติดที่เป็นผู้ใช้แรงงาน      โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่รถบรรทุกมักปฏิบัติงานด้วยความประมาทก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และอุบัติภัยที่นำไปสู่ความเสียหายทั้งชีวิตและท

ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม
       ๑. ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา
        ๒. ปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้างเนื่องจากเกรงว่าบุตรหลานจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือถูกประทุษร้ายจากผู้เสพยาที่มีอาการผิดปกติ                     

         ๓. ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง   ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข   การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ
        ๔. สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว    เมื่อถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัว ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ

 ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ
         ๑. คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง       เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับตำรวจ  อัยการ  ศาล ราชทัณฑ์   และการคุมประพฤติ   นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตรากำลัง  การขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น   และการก่อสร้างสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูง และทำให้การดำเนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า
        ๒. นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริต     คอรัปชั่น   โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน   การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม
       . ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา
        . ปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้างเนื่องจากเกรงว่าบุตรหลานจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือถูกประทุษร้ายจากผู้เสพยาที่มีอาการผิดปกติ                
         . ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง   ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข   การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ
        . สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว    เมื่อถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัว ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ
 ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ
         ๑. คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง       เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับตำรวจ  อัยการ  ศาล ราชทัณฑ์   และการคุมประพฤติ   นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตรากำลัง  การขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น   และการก่อสร้างสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูง และทำให้การดำเนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า
        ๒. นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริต     คอรัปชั่น   โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน   การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ยาเสพติดมีโทษต่อร่างกาย
สิ่งเสพติด หมายถึง สารหรือยา ที่เป็นผลิตภัณฑ์ หรือวัตถุดิบจากธรรมชาติ หรือสิ่งที่ได้จากการสังเคราะห์ รวมทั้งการผลิตด้วยวิธีต่าง ๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็จะติด และเลิกได้ยาก ก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง ทำลายระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายและจิตใจเสื่อมโทรมไร้สมรรถภาพ เกิดความทุกข์ทรมาน นับเป็นปัญหาด้านสุขภาพ และเกิดปัญหาด้านสังคม
ตามมา
สิ่งเสพติด สามารถแบ่งตามลักษณะการออกฤธิ์ ได้ดังนี้ ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท กดประสาท หลอนประสาท ทำลายประสาท รวมทั้งออกฤทธิ์ผสมผสานทำลายอวัยวะส่วน ต่าง ๆ ของร่างกาย

ยาเสพติด

ผลกระทบที่เกิดจาการครอบครอง  การใช้และการจำหน่ายสารเสพติด
ความหมายของยาเสพติด
          ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธี
รับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
          ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
          ๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
          ๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
          ๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
          ๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ

ความหมายโดยทั่วไป
          ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆ กันแล้วไม่ว่า ด้วยวิธีใดๆ เป็นช่วงระยะๆ หรือนานติดต่อกันก็ตาม จะทำให้
          1. บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้นทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว
          2. ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ หรือทำ ให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง
          3. เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจเกิดขึ้นในผู้เสพ

ความหมายตามกฎหมาย
          ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ
ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญเช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยา
เมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กลับให้รวม
ถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมี ที่ใช้ใน
การผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความ
ถึง ยาสำคัญประจำบ้านบางตำรับตามที่กฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสมอย

ความหมายของยาเสพติด ยาเสพติดให้โทษ หรือสิ่งเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก้ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ดังนี้
1. ต้องการยาเสพติดตลอดเวลา แสดงออกทางร่างกายและจิตใจ
2. ต้องเพิ่มขนาดของยาเสพติดมากขึ้น
3. มีอาการหยากหรือหิวยาเมื่อขาดยา (บางท่านจะมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา)
4. สุขภาพทั่วไปทรุดโทรม
ถ้าพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรม 4 ประการ ให้พึงสังเกตว่าอาจจะเป็นคนที่ใช้ยาเสติด

        ประเภทของยาเสพติด
ปัจจุบันสิ่งเสพติดหรือยาเสพติดให้โทษมีหลายประเภท อาจจำแนกได้หลายเกณฑ์ นอกจากแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังแบ่งตามการออกฤทธิ์และแบ่งตามกำกฎหมายดังนี้
ก.จำแนกตามสิ่งเสพติดที่มา
1. ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา
2. ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาม้า แอมเฟตามีน สารระเหย
ข.จำแนกสิ่งเสพติดตามกฎหมาย
1. ประเภทถูกกฎหมาย เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ บุหรี่ เหล้า กาแฟ ฯลฯ
2. ประเภทผิดกฎหมาย เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟตามีน ฯลฯ
ค.การจำแนกสิ่งเสพติดตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
1.ประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยาระงับประทสาท ยานอนหลับ สารระเหย เครื่องดื่มมึนเมา เช่นเหล้า เบียร์ ฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน ยาม้า ใบกระท่อม บุหรี่ กาแฟ โคคาอีน
3. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอล เอส ดี,เอส ที พี,น้ำมันระเหย
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทผสมรวมกันได้แก่ กัญชา

        สาเหตุที่ทำให้เกิดยาเสพติด
 1. ติดเพราะฤทธิ์ของยา เมื่อร่างกายมนุษย์ได้รับยาเสพติดเข้าไปฤทธิ์ของยาเสพติดจะทำให้ระบบต่างๆของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถ้าการใช้ยาไม่บ่อยหรือนานครั้ง ไม่ค่ยมีผลต่อร่างกาย แต่ถ้าใช้ติดต่อเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งจะทำให้มีผลต่อร่างกายและจิตใจ มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1.1 มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยาหรือสารนั้นอีกต่อไปเรื่อๆ
1.2 มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นทุดขณะ
1.3 ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการอยากยา หรืออาการขาดยา เช่น หาว อาจียน น้ำตาน้ำมูกไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั้ง โมโห ขาสติ
1.4 ยาที่เสพนั้นจะไปทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งร่างกาย ทำให้ซูบผอม มีโรคแทรกซ้อน และทางจิตใจ เกิดอาการทางประสาท จิตใจไม่ปกติ
 2. ติดยาเสพติดเพราะสิ่งแวดล้อม
2.1 สภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านที่อยู่อาศัย เต้มไปด้วยแหล่งค้ายาเสพติด เช่น ใกล้บรเวณศูนย์การค้า หน้าโรงหนัง ซึ่งเป็นการซื้อยาเสพติดทุกรูปแบบ
2.2 สิ่งแวดล้อมภายในบ้านขาดความอบอุ่น รวมไปถึงปัญหาชีวิตคนในครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมจะทำให้เด้กหันไปพึ่งยาเสพติด การขาดความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อแม่ และขาดการยอมรับจากครอบครัว เด็กจะหันไปคบเพื่อนร่อมกลุ่มเพื่อต้องการความอบอุ่น สภาพของกลุ่มเพื่อน สภาพของเพื่อนบ้านใกล้เคียง
2.3 สิ่งแวดล้อมทางโรงเรียน เด็กมีปัญหาทางการเรียน เนื่องจากเรียนไม่ทันเพื่อน เบื่อครู เบื่อโรงเรียน ทำให้หนีโรงเรียนไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ตนพอใจ เป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อของการติดยาเซบติด
3. ติดเพราะความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ
ในสังคมที่วุ่นวายสับสน เปลี่ยนแปลงรวดเร้วดังเช่นปัจจุบัน ทำให้จิตใจผิดปกติง่าย หากเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอในทุกด้าน ทั้งอารมณ์และสติปัญญา รวมทั้งร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะหาสิ่งยึดเหนี่ยว จะตกเป้นทาสยาเสพติดได้ง่าย ผู้ที่มีอารมณ์วู่วามไม่ค่อยยั้งคิดจะหันเข้าหายาเสพติดเพื่อระงับอารมณ์วู่วามของตน เนื่องจากยาเสพติดมีคุณสมบัติในการกดประสาทและกระตุ้นประสาท ผู้มีจิตใจมั่นคง ขาดความมั่นใจ มีแนวโน้มในการใช้ยาเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของตนให้หมดไปและมีโอกาสติดยาได้ง่ายกว่าผู้อื่น

       วิธีสังเกตผู้ติดยาหรือสารเสพติด
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด
2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดงิดง่าย พูดจาร้าวขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สุบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย
3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำหมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า "ลงแดง" มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย
4. อาสัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบางชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด
วัยรุ่นกับยาเสพติด
ปัญหาวัยรุ่นกับยาเสพติดเป็นเรื่องใหญ่มากในขณะนี้ หลายท่านอาจจะสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมในปัจจุบันวัยรุ่น ถึงหันเข้าไปหายาเสพติดกันมากอย่างนี้
เท่าที่ได้มีการสำรวจมา สาเหตุใหญ่ของการเริ่มเข้าไปใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นยังเป็นเรื่องของความ อยากลองความเป็นวัยรุ่นของเขาทำให้เขาอยากลองในสิ่งแปลกใหม่ ร่วมกับอีกปัญหาหนึ่งคือการตามเพื่อนความจริงแล้วเป็นเรื่องปกติของวัยรุ่น ไม่ว่าจะในยุคใดสมัยใด ที่จะสนใจเพื่อน อยากจะลอง อยากจะเป็นอย่างคนนั้นคนนี้ หรืออยากจะทำอย่างที่เพื่อนทำ จนกระทั่งกลายมาเป็นแฟชั่น ปัจจุบันมีเด็กบางคนหันเข้าไปหายาเสพติด เพียงเพราะรู้สึกว่า ใครๆ เขาก็ทำกัน เป็นเรื่องธรรมดา ไม่เห็นจะแปลกอะไร ถ้าถามว่ารู้โทษของยาเสพติดไหม เด็กๆ ก็รู้ แต่เพียงเพราะอยากที่จะตามเพื่อนๆ ไป ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด กลายไปเป็นเหยื่อของสารเสพติด
นอกจากนี้สภาพแวดล้อม ก็มีส่วนเอื้อให้มีปัญหายาเสพติดขึ้น เดิมทียาเสพติดเป็นสิ่งที่จะมีในสถานที่หรือแหล่งที่มีลักษณะจำเพาะในการระบาดของยาเสพติดเท่านั้น แต่ปัจจุบันยาเสพติดได้แพร่ระบาดมาถึงในโรงเรียนแล้ว เด็กๆ สามารถหายาเสพติดได้ในโรงเรียน และแม้แต่รอบรั้วโรงเรียนเองก็กลายเป็นที่ไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กของเราไปเสียแล้ว
ปัญหาอีกประการหนึ่งที่ทำให้เด็กบางคนเข้าไปสู่การใช้ยาเสพติด ก็คือปัญหาเรื่องของการต่อต้านผู้ใหญ่ อันนี้เป็นเรื่องตามวัยของเขาด้วย ด้วยความที่เขาอยากเป็นตัวของเขาเองทำให้เด็กบางทีรู้สึกไม่อยากเชื่อฟังสิ่งที่ผู้ใหญ่พูด บางทีก็แสดงความก้าวร้าวออกมา ถ้าคุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูไม่เข้าใจ ก็จะมีปฏิกิริยาโต้ตอบที่รุนแรงกับเด็ก หรือพยายามเข้าไปควบคุมหรือจัดการกับเขา เด็กก็จะยิ่งต่อต้านมากขึ้น อะไรที่เรารู้สึกว่าไม่ดี อะไรที่เราห้ามเขา อะไรที่เราบอกว่าอย่าทำ เด็กก็จะยิ่งอยากทำ เหมือนจะประชดผู้ใหญ่ไปทางหนึ่งด้วย แต่ด้วยประสบการณ์ที่ยังอ่อนอยู่ ทำให้ไม่ทราบว่าการประชดด้วยการใช้ยาเสพติดนั้นเป็นสิ่งที่มีอันตรายต่อตัวเองเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนปัจจัยต่อไปที่จะทำให้เด็กบางคนที่เมื่อหันเข้าไปลองแล้ว เกิดการติดยาเสพติดค่อนข้างจริงจัง คือปัญหาในเรื่องของภาวะทางอารมณ์ เด็กๆ หลายคนไม่มีความสุข เขารู้สึกเศร้าใจ รู้สึกทุกข์ใจ มีปัญหาต่างๆ รอบตัวโดยเฉพาะเรื่องในครอบครัว ความไม่ลงรอยกันในครอบครัว ความขัดแย้งกันของคุณพ่อคุณแม่ การทะเลาะเบาะแว้งกันที่บางทีถึงขนาดทำร้ายร่างกายกัน ทำให้เด็กรู้สึกไม่มีความสุข ความกลัดกลุ้มใจ ทุกข์ใจเช่นนี้แหละที่ทำให้เขาจมอยู่กับยาเสพติด บางคนอาจลองด้วยความตั้งใจ เพราะรู้สึกว่าในขณะที่ชีวิตไม่มีความสุขนั้น มีบางสิ่งบางอย่างที่ให้ความสุขกับเขาได้ ทำให้เขาลืมความทุกข์ต่างๆ เหล่านี้ไปได้ หากครอบครัวมีความสุข เด็กจะไม่คิดสนใจพึ่งยาเสพติดเช่นนี้
ปัจจุบันยาเสพติดได้เปลี่ยนรูปแบบของการระบาดไปมาก จากเดิมเคยพบเป็นเฮโรอีน ก็กลายเป็นยาบ้า ตัวยานี้ออกฤทธิ์ต่อสมองโดยเข้าไปปรับหรือเปลี่ยนแปลงสารเคมีบางตัว ทำให้มีฤทธิ์ที่ทำให้ผู้เสพรู้สึกคึกคัก มีพลัง หรือเพลิดเพลินค่อนข้างมาก เราจึงได้ยินข่าวบ่อยๆ ว่า วัยรุ่นไปจัดปาร์ตี้กันเพื่อความสนุก แล้วมียาเสพติดเข้ามามีส่วนประกอบ เด็กหลายคนชอบใจติดใจความสนุกสนานที่ได้รับจากฤทธิ์ของยาที่ตัวเองใช้กับเพื่อน ก็มาเล่าให้เพื่อนฟัง ชักจูงกันว่าสนุกสนานดีกว่าที่ไปปาร์ตี้กันเฉยๆ หรือในหลายครั้งก็มีลักษณะของการมอมเมา คือมีการแอบปนยาเสพติดในงานที่จัด หรือเพื่อนบางคนอาจจะไม่รู้แต่พอได้รับผลที่เกิดความสนุกขึ้นมา ก็เกิดความติดใจแล้วอยากจะใช้อีก จึงทำให้เกิดยาแพร่ระบาดไปได้เร็ว
ยาเสพติดมีผลกระทบต่อตัวเด็กในหลายด้าน
ผลกระทบอันแรกที่เราอาจจะสังเกตได้อย่างชัดเจนก็คือผลการเรียน ยาเสพติดเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อสมอง ฉะนั้นความสามารถในการเรียน ความตั้งใจ สมาธิในการเรียนของเขาจะลดลง ผลการเรียนก็เริ่มตกลง เด็กจะเริ่มมีปัญหาในการฝ่าฝืนกฎระเบียบ เพราะอยากจะใช้ยา บางทีอาจเห็นเด็กอยากโดดเรียน ออกจากโรงเรียนก่อนเวลาโรงเรียนเลิก เพราะว่าอยากจะไปใช้ยาเสพติด หรืออาจพบมีปัญหาเที่ยวกลางคืนมากขึ้น
ผลกระทบต่อไป คือ ผลกระทบต่อร่างกาย ตัวยาเสพติดเองมีฤทธิ์โดยตรงต่อการทำงานของสมองของเราหรือมีฤทธิ์โดยตรงต่อทางร่างกาย การที่เราไม่หลับไม่นอนเอาแต่สนุกสนานนั้น ร่างกายเราสู้ไม่ไหว ก็จะทรุดโทรมลง เหนื่อย อ่อนเพลีย รู้สึกอยากจะนอนมากขึ้น เด็กอาจจะง่วงเหงาหาวนอนมากขึ้นในชั้นเรียน
ภาวะทางจิตใจเองก็มีผลให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล เกิดความรู้สึกก้าวร้าวมากขึ้น เพราะเมื่อมีความต้องการใช้ยา เด็กก็จะกระวนกระวาย เวลาใครเข้ามาขัดขวาง เด็กก็จะรู้สึกหงุดหงิด อาจจะทำอะไรลงไปที่รุนแรงมากขึ้น ที่สำคัญคือในบางรายอาจเกิดอาการทางจิตขึ้นอย่างที่เราเห็นข่าวกัน โดยยาบ้าอาจทำให้เกิดอาการหลอนทางประสาท ทำให้เกิดความรู้สึกหวาดระแวงว่าจะมีคนทำร้าย ดังนั้นเขาอาจทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมขึ้น เนื่องจากอาการทางจิตของเขา เช่น ใช้มีดจับคนเข้ามาเป็นตัวประกัน หรือกังวลว่าเขาจะทำร้ายตัวเอง ก็จะแสดงอาการก้าวร้าวต่อคนอื่นได้
ยาบ้ายังทำให้เด็กมีโอกาสทำผิดกฎหมายได้มาก ด้วยความที่อยากได้ยามาใช้ เด็กอาจจะเริ่มลักขโมย ขโมยของ หรือว่าทำผิดกฎหมายอื่นๆ เช่น ขู่กรรโชกเพื่อที่จะได้เงินมา นอกจากนี้มีผลกระทบอีกอันหนึ่งซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่สบายใจทีเดียว คือ เด็กกลายเป็นผู้ขายยาเสพติดเสียเอง เพื่อเอาเงินบางส่วนไปซื้อยามาเสพ ซึ่งตรงนี้เป็นผลกระทบซึ่งรุนแรงทีเดียวสำหรับเด็ก
การป้องกัน
ทำอย่างไรเด็กของเราจึงจะไม่หันมาใช้ยาเสพติดอย่างนี้ ความใกล้ชิดในครอบครัวนี่แหละคือภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดในเรื่องปัญหายาเสพติด ความเอาใจใส่กับลูกไม่ได้เริ่มที่วัยรุ่น จริงๆ แล้ว เราเอาใจใส่รักใคร่กับเขามาโดยตลอด ความผูกพันอย่างนี้ ทำให้เด็กรับรู้และเข้าใจตระหนักดีว่า การหันเข้าไปหายาเสพติดทำให้ครอบครัวของเขาเกิดปัญหาขึ้น เขาจึงมีแรงยึดเหนี่ยวจากความรักความเอาใจใส่จากครอบครัว ทำให้ไม่หันเข้าไปหายาเสพติด
การพูดคุยกับลูกวัยรุ่นก็เป็นเรื่องจำเป็น แต่ว่าจะพูดอย่างไรจึงจะพอเหมาะ ด้วยความกังวลใจ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเข้าไปวุ่นวายกับชีวิตเขามากขึ้น เข้าไปควบคุมเขา เข้าไปกำกับดูแล เข้าไปดูว่าเขาคุยโทรศัพท์กับใคร ในกระเป๋าเขามีอะไรบ้าง เข้าไปค้นในห้องนอนของเขา ลักษณะเช่นนี้ต้องระวังในเด็กวัยรุ่น เขาไม่ชอบให้เราเข้าไปวุ่นวายกับชีวิตของเขา การใช้วิธีพูดคุยกันในทำนองของการไถ่ถามถึงเรื่องราวทั่วๆ ไป เปิดโอกาสให้เขาปรึกษาหารือ พร้อมที่จะรับฟังเขา จะทำให้ความรู้สึกต่อต้านของเด็กลดลง เมื่อเขาเห็นว่าเราวางใจเขา ก็จะยินดีให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาว่าเวลานี้ เขาคิดอย่างไร เขารู้สึกอย่างไร คุณพ่อคุณแม่อาจลองถามไถ่ต่อไปว่า มีบ้างไหม เขาบังเอิญเข้าไปใกล้ชิดกับปัญหาเรื่องยาเสพติด เขาคิดว่าเขาจะป้องกันตัวเองอย่างไร ถ้าเราพูดกับลูกอย่างนี้ เราจะได้แนวคิดว่าจริงๆ แล้วลูกเรามีความพร้อมในเรื่องการดูแลตัวเองจากยาเสพติดไหม ถ้าเขามีแนวคิดที่ดีอยู่แล้ว เขาป้องกันตัวเองอยู่แล้ว เราก็ให้เพียงแค่การสนับสนุน ชื่นชมเขา หรืออาจเสนอข้อมูลที่เราได้รับรู้มาใหม่ๆ เพื่อเขาจะได้ระมัดระวังตัวเขาเองมากขึ้น
อีกประการหนึ่ง คือเรื่องการสังเกตพฤติกรรม โดยเมื่อเริ่มมีปัญหาแล้วเรารีบเข้าไปแก้ปัญหาโดยเร็ว ก็ย่อมจะดีกว่าปล่อยให้เขาติดยาเสพติดจนเรื้อรังจนแก้ไขได้ยาก การสังเกตพฤติกรรมช่วงแรกๆ จะพบว่าเด็กเริ่มมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอารมณ์หงุดหงิดและก้าวร้าว เด็กบางคนอาจเก็บตัวมากขึ้น หรือมีพฤติกรรมที่แอบซ่อน เพราะว่าเขาคงไม่อยากเปิดเผยถึงการใช้ยาของเขาให้เราทราบ ถ้าเขามีปัญหาของการแอบซ่อนอย่าใช้วิธีค้นอย่างที่ว่า เพราะยิ่งหาเด็กก็ยิ่งพยายามซ่อน ระยะนี้อาจเพียงแต่เฝ้ามองพฤติกรรมอยู่ห่างๆ ดูซิว่าลูกเริ่มโกหก ลูกเริ่มแสดงพฤติกรรมหลอกลวงหรือเปล่า แล้วก็ดูด้านอื่นร่วมกันด้วย เช่น เรื่องการเรียน คุณพ่อคุณแม่อาจจะประสานกับคุณครูที่ดูแลลูกว่าขณะนี้ลูกมีปัญหาในชั้นเรียนอย่างไรไหม มีผลการเรียนตกลงไหมเพราะอะไร
กลุ่มเพื่อนของลูกก็เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเรายอมรับเพื่อนของลูก เราก็สามารถติดตามได้ว่าเขาไปทำอะไรกันที่ไหนบ้าง แต่ถ้าเราปฏิเสธไม่ยอมรับเพื่อน ลูกก็จะเริ่มไม่บอกกับเราอย่างตรงไปตรงมา อาจยังแอบคบหาสมาคมกันโดยที่เราไม่รู้ ซึ่งข้อนี้จะเป็นอันตรายมากกว่า เพราะเราไม่มีทางทราบว่าเขาไปทำอะไร ที่ไหน เมื่อไรบ้าง แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่เปิดใจรับให้เพื่อนของลูกเข้ามาในบ้าน เข้ามาพูดคุยกัน ทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกันที่บ้าน ซึ่งดูแล้วอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม เช่น เขาอาจจะอยากขอมาเล่นดนตรีด้วยกันที่บ้าน คุณพ่อคุณแม่ก็ควรอนุญาตหรือยอมให้เขาทำอะไรบางอย่างร่วมกันบ้าง คุณจะได้เห็นลูกกับเพื่อนในสายตาอยู่เกือบตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยได้มากทีเดียวว่า ขณะนี้เขาไปทำอะไรที่ไหนบ้าง และการที่เราเปิดเผยกับลูก ยอมรับลูกในเรื่องต่างๆ เช่นนี้ จะทำให้ลูกเองก็พร้อมที่จะเปิดเผยกับเราด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นเรามาร่วมมือกันอย่างนี้ก็คงช่วยกันไม่ให้ลูกเราหันเข้าไปหายาเสพติดกันได้